ลำไยเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและกึ่ง
ร้อนของเอเชีย
ซึ่งอาจมีถิ่นกำเนิดในลังกาอินเดียพม่าหรือจีนแต่ที่พบหลักฐานที่ปรากฏใน
วรรณคดีของจีนในสมัยพระเจ้าเซ็งแทงของจีนเมื่อ ๑,๗๖๖
ปีก่อนคริสกาลและจากหนังสือRuYaของจีนเมื่อ ๑๑๐
ปีก่อนคริสตกาลได้มีการกล่าวถึงลำไยไว้แล้ว
และชาวยุโรปได้เดินทางไปยังประเทศจีนเมื่อปีพ.ศ.๑๕๑๔
ก็เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับลำไยไว้ในปีพ.ศ.๑๕๘๕
แสดงว่าลำไยมีการปลูกในจีนที่มณฑลกวางตุ้งเสฉวนมีศูนย์กลางอยู่ที่มณฑลฟู
เกียน ลำไยได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศอินเดีย ลังกา
พม่าและประเทศแถบเอเชียลังกาพม่าและประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเข้า
สู่ประเทศอเมริกาในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ในประเทศไทย
ลำไยคงแพร่เข้ามาในประเทศพร้อมๆ
กับประเทศในเขตนี้แต่ไม่ปรากฏหลักฐานหลักฐานที่พบเป็นต้นลำไยในสวนเก่าแก่
ของ ร.อ.หลวงราญอริพล(เหรียญสรรพเสน)
ที่ปลูกในตรอกจันทร์ถนนสาธุประดิษฐ์ใกล้วัดปริวาศในสมัยรัชกาลที่
๕เป็นลำไยที่ขยายพันธุ์มาจากเมล็ดเพาะแสดงว่าลำไยมีในประเทศไทยมาก่อนแล้ว
และมีการพัฒนาพันธุ์ตามลำดับตามสภาพภูมิอากาศต่อมาพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
ได้นำลำไยจากกรุงเทพฯขึ้นมาขยายพันธุ์ในจังหวัดเชียงใหม่จากนั้นก็ขยาย
พันธุ์สู่ภูมิภาคต่างๆในล้านนาโดยการเพาะเมล็ดจนเกิดการแปรพันธุ์(Mutation)
เกิดพันธุ์ใหม่ตามสภาพคุณลักษณะที่ดีของภูมิอากาศที่เหมาะสมและเกื้อกูลต่อ
การเจริญเติบโตของลำไย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
จังหวัดลำพูนมีสภาพภูมิประเทศที่ดีในลุ่มแม่น้ำใหญ่หลายสาย
จนเกิดลำไยต้นหมื่นที่บ้านหนองช้างคืน อำเภอเมืองลำพูน
ซึ่งเก็บผลขายต้นเดียวได้ราคาเป็นหมื่น เมื่อปีพ.ศ.๒๕๑๑ ผลิตผลต่อต้นได้
๔๐-๕๐เข่งพัฒนาการของลำไยในภูมิภาคนี้โดยเฉพาะที่จังหวัดลำพูนถ้านับจากการ
เสด็จกลับล้านนาครั้งแรกของพระราชชายา
เจ้าดารารัศมีเมื่อปีพ.ศ.๒๔๕๗จนถึงลำไยต้นหมื่นที่หนองช้างคืนเมื่อปีพ.
ศ.๒๕๑๑ก็พัฒนามาร่วม๖๐ปีและถ้านับถึงปีปัจจุบัน
มีการพัฒนาพันธุ์ร่วม๙๐ปีแล้วจนขณะนี้มีลำไยมากมายหลายพันธุ์และมีการปลูก
มากถึง๑๕๗,๒๒๐ไร่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น